วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์โดยเครื่องเหวี่ยง
คุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Bawalan and Chapman , 2006)
ในเบื้องต้นหากยังไม่ได้ตรวจโดยห้องปฏิบัติการสามารถประเมินคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์โดยประสาทสัมผัส ดังนี้
1. สี : น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ต้องใสเหมือนน้ำ และปราศจากสี เนื่องจากหากมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ น้ำมันมะพร้าวอาจมีสีเหลือง ชมพู หรือส้ม
2. กลิ่น : น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์คุณภาพดีต้องปราศจากกลิ่นหืน แต่มีกลิ่นหอมละมุนของมะพร้าวจะมากน้อยขึ้นกับกระบวนการผลิต
3. รสชาติ : น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์คุณภาพดีไม่ควรมีกลิ่นผิดปกติหรือมีรสเปรี้ยว เมื่อชิมแล้วไม่มีอาการระคายคอ


การผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์โดยใช้เครื่องเหวี่ยงที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ได้รับมาจากผู้เชี่ยวชาญจาก FAO ซึ่งนำเครื่องนี้มาจาประเทศอินเดีย เครื่องเหวี่ยง นี้ใช้ไฟฟ้า 220/20 โวลต์ มีกำลัง 0.25 แรงมา มีความเร็วรอบ 1440 RPM การผลิตน้ำมันโดยเครื่องเหวี่ยงนี้ จะได้น้ำมันเร็วที่สุดในบรรดา 3 กรรมวิธีผลิต และน้ำมันมีกลิ่นหอมอ่อนๆของมะพร้าว
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
1. ใช้นวดคลึงศีรษะขณะผมแห้ง แล้วล้างออก เพื่อรักษาโรคบนหนังศีรษะ เช่น รังแค เชื้อรา และบำรุงเส้นผม
2. ใช้สำลีชุบน้ำมันเช็ดเครื่องสำอางหรือใช้นวดหน้าลดการเกิดสิวและการสะสมของสารเคมีบนผิวหน้า
3. ใช้ทาผิวหลังอาบน้ำ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ลดแผลเป็นจุดด่างดำหรือทาก่อนไปว่ายน้ำหรือออกไปกลางแดด จะช่วยป้องกันกระและฝ้า
4. ใช้แทนเบบี้ออยด์ สำหรับผิวเด็ก ช่วยลดผดผื่นและรักษาความชุ่มชื้นแก่ผิวเด็ก
5. ใช้ทาและนวดคลึงบริเวณ ส้นเท้าแตกและ บริเวณการแสบคันเนื่องจากน้ำกัดเท้าจะช่วยรักษา และปรับสภาพเท้าให้นิ่มนวล มีสุขภาพดี
6. ใช้นวดเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทในการรักษากระดูกและกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บและหากผสมกลิ่นสมุนไพรจะช่วยให้ผ่อนคลาย
7. บริโภคโดยตรง โดยรับประทานวันละ 1½ ช้อนโต๊ะ ครึ่งชั่วโมงก่อนอาหารกลางวัน และอาหารเย็นเพื่อควบคุมน้ำหนัก และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

สิ่งที่ควรรู้ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ผลิตโดยไม่ผ่านความร้อนสูง จึงมีวิตามิน อี และซึมซาบสู่ผิวได้ง่าย จึงช่วยบำรุงผิว และน้ำมันมะพร้าว มีกรดลอริค เพื่อ บริโภคเข้าสู่ร่างกาย กรดลอริกคจะเปลี่ยนเป็นสารโมโนลอริน ซึ่งสารนี้มี คุณสมบัติต่อต้านและทำลาย ไวรัส แบคทีเรีย และโปรโตซัว จึงสามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย






1..เตรียมน้ำกะทิ







2. นำกะทิใส่เครื่องเหวี่ยงเพื่อเหวี่ยงแยกครีมหัวกะทิกับหางกะทิ







3.นำหัวกะทิใส่ช่องแช่แข็งในตู้เย็นจนเนื้อครีมแข็งคล้ายไอศกรีม


4.ภาชนะใส่ครีมแข็ง วางลงในหม้อน้ำร้อนเพื่อหลอมครีมแข็ง ให้น้ำมันละลายออกมา



5.ยกภาชนะออกจากหม้อน้ำร้อนตั้งไว้สักพักแล้วจึงตักน้ำมัน








6. กรองน้ำมันด้วยผ้ามัสลินหรือเครื่องกรองแบบสุญญากาศ (vacuum pump) แล้วนำไปเหวี่ยงด้วยเครื่อง ให้ได้น้ำมันใส

7.ระเหยน้ำโดยตั้งภาชนะที่ใส่น้ำมันในหม้อน้ำร้อนโดยควบคุมอุณหภูมิของน้ำมัน ให้อยู่ประมาณ 65°c



8. น้ำมันที่ได้จะมีลักษณะใสพร้อมบรรจุ และพร้อมจำหน่าย

การผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์โดยการหมัก
กรรมวิธีการหมัก เป็นวิธีผลิตที่ให้น้ำมันที่ง่ายที่สุด วิธีการไม่ซับซ้อน สามารถทำได้ในระดับอุตสาหกรรมครัวเรือน ไม่ต้องลงทุนสูง ไม่ต้องใช้พลังงานในการอบมะพร้าว แต่ใช้ระยะเวลาในการกระบวนการผลิตนานกว่ากรรมวิธีการผลิตโดยใช้เครื่องบีบ และจากการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร พบว่า เนื้อมะพร้าวขูด 5 กิโลกรัม จะได้น้ำมันประมาณ 1 ลิตร หรือประมาณ 20% ของน้ำหนักเนื้อมะพร้าวขูด แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์มะพร้าว และการควบคุมอุณหภูมิในกระบวนการหมัก เมื่อสิ้นสุดกระบวนการหมักจะเห็นองค์ประกอบของกะทิหลังหมักเป็น 5 ชั้น จากบนลงล่าง ได้แก่
1) ชั้นของครีมหมักที่ลอยเป็นฝ้าปิดด้านบน (fermented curd)
2) ชั้นของน้ำมันมะพร้าวที่แยกออกมา (separated oil)
3) ชั้นของครีมหมัก (fermented curd)
4) ชั้นของน้ำหมัก (fermented coco skim milk) ซึ่งไม่สามารถบริโภคได้ และ ควรกำจัดอย่างเหมาะสม
5) ชั้นของตะกอนโปรตีนกัม (gummy sediment)
คุณภาพของน้ำมันและปริมาณที่ได้รับจากกระบวนการหมัก (Modified Natural Fermentation Method) มีดังนี้
1. ปริมาณกรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acid หรือ FFA) ประมาณ 0.1%
2. ความชื้น 0.12% หรือต่ำกว่า
3. น้ำมันที่ได้ไม่มีสี และใสเหมือนน้ำ (water-clear)
4. ปริมาณน้ำมันที่ได้จากการหมัก 19.8 กก. จาก 100 กก.ของมะพร้าวขูดที่มีความชื้น 50% และคั้นกะทิโดยใช้เครื่องคั้นแบบไฮดรอลิค หรือ เครื่องหัวจรวด (expellor)






1. คัดเลือกมะพร้าวไม่งอก ไม่เน่า นำไปขูด และคั้นกะทิ



2. การเตรียมน้ำกะทิ โดยใช้มะพร้าวขูด : น้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:1


3. การทำให้กะทิแยกชั้นครีม ทำได้ 2 วิธี คือ


3.1 แช่กะทิในถังน้ำแข็งหรือตู้เย็น แล้วตักแยกชั้นครีมใส่




3.2 แยกครีมโดยใช้น้ำร้อน 700-800 c ผสมกะทิเข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ให้ไขมันลอยขึ้นอยู่ชั้นบน แล้วตักแยกชั้นครีมที่อยู่ชั้นบนใส่ภาชนะหมัก
4. โถครีมกะทิไว้ ในกล่องโฟม ที่ปรับอุณหภูมิภายในให้อุ่นด้วยหม้อน้ำร้อน จะเกิดการแยกชั้นเมื่อเวลาผ่านไป 16-24 ชม.



5. การกรอง โดยตักแยกชั้นของน้ำมันมากรองด้วยผ้าขาวบาง พับหลายชั้น

6. ระเหยน้ำออกจากน้ำมันด้วยการตั้งภาชนะที่ใส่น้ำมันในหม้อน้ำร้อนโดยควบคุมอุณหภูมิของน้ำมัน ให้อยู่ประมาณ 65°c
7.ตั้งน้ำมันที่ไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือ กรองด้วยกระดาษกรอง






8.. ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย